80/364 หมู่ 3 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
02-516 3821 – 4
ฟิล์มหล่อลื่นแบ่งได้ 3 แบบ คือ
ฟิล์มหล่อลื่น เป็นค่าที่สัมพันธ์กับความหนาของฟิล์ม ซึ่งมีผลในทางกลับกันของ Lubrication Factor
รูปความหนาของฟิล์มและผลต่อ Lub
รูปลักษณะการก่อตัวของฟิล์มน้ำมันใน Journal Bearing
ลักษณะฟิล์มแบบ Full Film
เป็นลักษณะของฟิล์มในอุดมคติของการหล่อลื่น โดยส่วนที่เคลื่อนที่จะไม่เกิดการสัมผัสกับส่วนที่อยู่กับที่เลยในทุกกรณีซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
ลักษณะฟิล์มแบบ Elastohydrodynamic
คือการก่อตัวของฟิล์มแบบ Hydrodynamic โดยได้รับความดันเกิดจากน้ำหนักที่กดลงบนส่วนที่เคลื่อนที่ และหมุนตัวไปบนผิวที่อยู่กับที่ สารหล่อลื่นจะแทรกผ่านไปอยู่ระหว่างผิวหน้าทั้งสองซึ่งจะเพิ่มความดันให้กับผิวของสารหล่อลื่น สารหล่อลื่นจะถูกรีดตัวออกจากระหว่างผิวทั้งสอง ภายใต้ความดันสูง สารหล่อลื่นจะถูกรีดเป็นแผ่นบาง ๆ ถ้าน้ำหนักที่กดลงมายังคงเพิ่มไปตลอด จะทำให้สารหล่อลื่นถูกกดให้แยกออกจากผิวทั้งสอง และจะทำให้ผิวทั้งสองสัมผัสกัน
ข้อสังเกตุ การพิจารณาคุณสมบัติของสารหล่อลื่นก่อนนำไปใช้ จะเป็นแนวทางการใช้งานได้อย่างดี
รูปลักษณะการหล่อลื่นแบบ Elastohydrodynamic
ลักษณะฟิล์มแบบ Boundry Layer Film
ลักษณะฟิล์มแบบ Boundry Layer Film ลักษณะดังกล่าว ฟิล์มจะเกิดขึ้นโดยส่งสารหล่อลื่นเข้าไปแทรกตัวระหว่างผิวทั้งสองในจำนวนที่พอเหมาะ ให้จุดสูงสุดของผิวสัมผัสเกิดแยกตัวเท่านั้น.
รูปลักษณะแบบ Boundry
ข้อสังเกตุ ลักษณะฟิล์มแบบนี้เกิดจากการให้สารหล่อลื่นไม่เพียงพอ หรือให้แรงกดที่พอดีกับความสามารถของสารหล่อลื่น